วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศเวียดนาม

สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศเวียดนาม


ประเทศเวียดนาม

• ลักษณะภูมิอากาศ เนื่องจากแผ่นดินของเวียดนามมีความยาวมาก ทำให้ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศแตกต่างกันค่อนข้างมาก โดยอาจแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้
• ภาคเหนือ ภูมิประเทศเวียดนามประกอบด้วยภูเขาสูงมากมาย โดยเฉพาะเทือกเขาฟานสีปัน สูงถึง 3,143 เมตร สูงที่สุดในอินโดจีน มีแม่น้ำสายสำคัญคือ แม่น้ำกุง ซึ่งไหลไปบรรจบกับแม่น้ำแดงเป็นดินดอนสามเหลี่ยมที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูกและยังเป็นที่ตั้งของเมืองฮานอยอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเวียดนาม มีที่ราบลุ่ม Cao Bang และ Vinh Yen ตลอดจนเกาะแก่งกว่า 3,000 เกาะ อ่าวฮาลอง และเนื่องจากพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตอากาศหนาว ซึ่งได้รับอิทธิพลกระแสลมแรงพัดจากขั้วโลก ทำให้มีสภาพภูมิอากาศหนาวเย็น
• ภูมิอากาศในเขตภาคเหนือแบ่งออกได้เป็น 4 ฤดู
1.ฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม-เมษายน) มีฝนตกปรอยๆ และความชื้นสูง อุณหภูมิประมาณ 17 องศา – 23 องศา
2.ฤดูร้อน (พฤษภาคม-สิงหาคม) อากาศร้อนและมีฝน อุณหภูมิประมาณ 30 – 39 องศา เดือนที่ร้อนที่สุดคือเดือนมิถุนายน
3.ฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน-พฤศจิกายน) อุณหภูมิ 23 – 28 องศา
4.ฤดูหนาว (ธันวาคม-กุมภาพันธ์) อากาศจะหนาวเย็นที่สุดในรอบปี คือ ประมาณ 7 – 20 องศา แต่ในบางครั้งอาจลดลงถึง 0 องศา เดือนที่อากาศหนาวที่สุดคือ มกราคม
• ภูมิอากาศในเขตภาคภาคกลาง 2 ฤดู
1.ฤดูฝน (พฤษภาคม-ตุลาคม) เดือนที่อากาศร้อนที่สุดคือ มิถุนายน-กรกฎาคม อุณหภูมิเกือบ 40 องศา
2.ฤดูแล้ง (ตุลาคม-เมษายน) เดือนที่อากาศเย็นที่สุด คือ มกราคม อุณหภูมิเกือบ 20 องศา
• ภาคใต้ แม้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของเวียตนามเป็นที่ราบสูง แต่ก็มีที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง หรือชื่อที่รู้จักคือ กู๋ลอง (Cuu Long) อันเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งเพาะปลูกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเวียดนาม และเป็นที่ตั้งของกรุงโฮจิมินห์ซิตี้ หรือ ไซ่ง่อน ภูมิอากาศค่อนข้างร้อน อุณหภูมิประมาณ 27 องศา มี 2 ฤดู คือ
1.ฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน) เดือนที่ร้อนที่สุดคือ เดือนเมษายน อุณหภูมิประมาณ 39 องศา
2.ฤดูแล้ง (เดือนพฤศจิกายน-เมษายน) เดือนที่อากาศเย็นที่สุดคือ มกราคม อุณหภูมิประมาณ 26 องศา

ข้อมูลทั่วไปประเทศเวียดนาม
• เมืองหลวง คือ ฮานอย ตั้งอยู่ทางภาคเหนือ เป็นเมืองศูนย์กลางด้านการค้าและอุตสาหกรรม

นอกจากนี้ยังมีเมืองสำคัญต่างๆ ดังนี้
1.โฮจิมินห์ซิตี้ (ไซ่ง่อน) ตั้งอยู่ทางภาคใต้ เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นศูนย์กลางทางการค้าด้วย
2.ไฮฟอง เป็นเมืองท่าอยู่ทางชายฝั่งตอนเหนือใกล้เมืองฮานอย
3.ดานัง เป็นเมืองท่าและเป็นเมืองด้านการท่องเที่ยว ติดทะเลจีนใต้อยู่ทางภาคกลางของเวียตนาม
4.เว้ เป็นเมืองประวัติศาสตร์ใกล้เมืองดานัง
• พื้นที่ เวียดนามมีพื้นที่ 327,500 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 81.4 ล้านคน
• ศาสนา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ นับถือศาสนาคริสต์ ประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์ และที่เหนือนับถือศาสนาอื่นๆ อีก 3 เปอร์เซ็นต์
• ภาษา ภาษาทางการคือ ภาษาเวียดนาม ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ คือ ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และจีน
• สกุลเงิน สกุลเงินของเวียดนามคือ ดอง อัตราแลกเปลี่ยน 420-460 ดอง ต่อ 1 บาท
• ระบบการปกครอง เวียดนามปกครองแบบระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นการปกครองโดยกองกำลังของรัฐ มีการแบ่งเขตการปกครอง แบ่งออกเป็น 59 จังหวัด และ 5 เทศบาลนคร
• วัฒนธรรม
เวียดนามมีการผสมผสานด้านวัฒนธรรม จากหลายชนชาติ เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 432 เวียดนามได้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลจากจักรพรรดิจีนนานกว่าพันปี ดังนั้น สิ่งก่อสร้าง อาหารการกิน จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมของจีนมาก และยังมีความหลากหลายของผู้คนของชาวเขาหลากหลายชนเผ่าทางภาคเหนือของเวียดนาม และเมื่อสมัยที่ฝรั่งเศสเข้ามาปกครอง เวียดนามก็ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมฝรั่งเศสด้วย ได้แก่ ตึกที่อยู่อาศัยที่ดูทันสมัย เป็นตึกสีเหลืองสไตล์โคโลเนียลที่มีให้พบเห็นมากมาย ดังนั้นวัฒนธรรมต่างๆ ของเวียดนามจึงมีการผสมผสานกันเป็นอย่างมาก ทั้งด้านที่อยู่อาศัย เทศกาล อาหาร เป็นต้น
• เทศกาลเต็ด (Tet)
โดยปกติแล้ว ชาวเวียดนามจะเฉลิมฉลองเทศกาลต่างๆ อย่างน้อย 3-7 วัน ติดต่อกัน โดยมีเทศกาลทางศาสนาที่สำคัญที่สุด คือ “เต็ดเหวียนดาน” (Tet Nguyen Dan) มีความหมายว่าเทศกาลแห่งรุ่งอรุณแรกของปี ที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า เทศกาลเต็ด เทศกาลจะเริ่มต้นขึ้น 1 สัปดาห์ก่อนจะมีวันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติ คือ ระหว่างปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ในวันขึ้น 15 ค่ำ ของวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ไกลเส้นศูนย์สูตรมากที่สุดในฤดูหนาว กับวันที่กลางวันยาวเท่ากับกลางคืน ในฤดูใบไม้ผลิ เทศกาลนี้เป็นการเฉลิมฉลองในภาพรวมทั้งหมดของความเชื่อในเทพเจ้า ลัทธิเต๋า ขงจื๊อ และศาสนาพุทธ รวมถึงการเคารพบรรพบุรุษ
• เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง
สำหรับเทศกาลฤดูใบไม้ร่วง นับตามจันทรคติตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ชาวบ้านจัดประกวด “ขนมบันตรังทู” หรือ ขนมเปี๊ยะโก๋ญวน ทีมีรูปร่างกลม มีไส้ถั่วและไส้ผลไม้ พร้อมทั้งจัดขบวนแห่เชิดมังกร เพื่อแสดงความเคารพต่อพระจันทร์ ซึ่งในบางหมู่บ้านอาจประดับโคมไฟพร้อมทั้งจัดงานขับร้องเพลงพื้นบ้าน
• เวลาทำการของขององค์กรรัฐและเอกชน
1.หน่วยงานราชการ สำนักงาน และองค์กรให้บริการสาธารณสุข 8.00 – 16.30 น. ซึ่งจะเปิดให้บริการตั้งแต่วันจันทร์ - วันศุกร์ พิพิธภัณฑ์จะเปิดให้บริการวันเสาร์อีกครึ่งวัน
2.ร้านค้าเอกชนทั่วไปให้บริการระหว่าง 6.00 – 18.30 น.
3.ธนาคารพาณิชย์ ให้บริการตั้งแต่วันจันทร์ – วันศุกร์ ระหว่างเวลา 8.00 – 16.00 น. (หยุดพักเวลา 12.00 – 13.00 น.)
4.สำนักงานไปรษณีย์โทรเลข ให้บริการ ตั้งแต่ 7.00 – 20.00 น.
5.โรงงานอุตสาหกรรม ทำงานวันจันทร์ – วันศุกร์ และวันเสาร์อีกครึ่งวัน โดยเวลาทำงานรวมไม่เกิน 48 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ หากเกินจากนี้ต้องจ่ายค่าล่วงเวลา สำหรับวันหยุดประจำสัปดาห์ต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่ม 2 เท่า และวันหยุดนักขัตฤกษ์จ่ายเพิ่ม 3 เท่า

ฮาลองเบย์ : มหัศจรรย์แห่งอ่าวมังกรตกน้ำ


สำหรับอ่าวฮาลอง หรือ ฮาลองเบย์ นั้นได้ตามนิทานปรัมปรา ของชาวเวียดนาม ที่กล่าวถึงมังกรโบราณซึ่งเคยร่อนมาลงในอ่าว นี้เมื่อครั้งดึกดำบรรพ์ และชื่อของฮาลอง ก็แปลได้ว่า มังกรร่อน ลง จากความสวยงามและสมบูรณ์ของอ่าวฮาลอง ทำให้ที่นี่ประกาศได้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ จากองค์กรยูเนสโก ในปี พ.ศ. 2537 ซึ่งเป็นเสมือนประกาศนียบัตรที่ใครเห็นต่างเชื่อถือ จึงทำให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนประเทศเวียดนาม ต้องล่องเรือมาชมอ่าวฮาลองเพื่อสัมผัสกับความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ
• ที่ตั้ง : อ่าวฮาลองตั้งอยู่ในจังหวัดกว่างนิงห์
(Quang Ninh) ตั้งอยู่ทางเหนือของกรุงฮานอย
• การเดินทาง : จากฮานอย มีรถบัสไปยังเมืองฮาลอง
ซึ่งห่างออกไป 160 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ
3 ชั่วโมงครึ่ง และจากสถานีรถบัสไปท่าเรืออ่าวฮาลองอีก 15 นาที จากนั้นไปต่อเรือที่ท่าเรือเฟอรี่ ซึ่งจะมีเรือไปยังเกาะกั๊ตบา (Cat Ba Island) หรือจากฮานอยนั่งรถลงมาที่จังหวัดไฮฟอง (Haiphong) จากสถานีรถบัสไปท่าเรือใช้เวลา 10 นาที มีเรือไฮโดรฟรอยไปยังเกาะกั๊ตบา ใช้เวลา 2 ชั่วโมง
• ลักษณะทั่วไปของอ่าวฮาลอง คล้ายๆกับ อ่าวพังงา หรือเกาะต่างๆ ในประเทศไทย แต่อ่าวฮาลองจะเต็มไปด้วยเกาะกว่า 3,000 เกาะ และมีเนื้อที่กว่า 4,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอ่าวตังเกี๋ยทะเลจีนใต้

• เรือท่องเที่ยวในอ่าวฮาลอง ส่วนใหญ่เป็นเรือขนาดกลางมี ห้องพักบนเรือ และมีการสร้างหัวมังกรไว้ที่หัวเรือ แต่มีบางลำ ได้สร้างเป็นลักษณะของเรือใบย้อนยุค เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ สัมผัสกลิ่นอายแห่งการเดินเรือในอดีต เมื่อเรือออกจากท่าไม่ นานก็เข้าสู่ดินแดนแห่งความงดงามที่แต่งแต้มเติมเต็มด้วยหมู่เกาะน้อยใหญ่วางสลับเรียงรายดูแปลกตายิ่งนัก หากเปรียบเทียบกับทางอ่าวพังงาของประเทศไทย จะมีลักษณะคล้ายกัน แต่ที่อ่าวฮาลองจะกว้างกว่ามาก ในบริเวณเกาะใหญ่ๆ ที่หลบลมได้ก็มีชาวบ้านมาอาศัยทำประมงด้วย มีการเลี้ยงปลาในกระชังอยู่หลายๆ จุด

แหล่งที่มา :

http://www.natureclubthailand.com/

http://www.oceansmile.com/



วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ตัวอย่างของระบบ OA เครื่องถ่ายภาพรังสี (X-RAY)

เครื่องเอ็กซเรย์เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในการช่วยวิเคราะห์และวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับฟันอย่างหนึ่งมีหลายชนิดเพื่อวัตถุประสงค์และเทคนิคการถ่ายที่แตกต่างกันประโยชน์ที่ได้รับก็แตกต่างกันด้วย เครื่องเอกซเรย์กะโหลกศีรษะ : ใช้ในการวิเคราะห์ความผิดปกติของเนื้องอกในกระดูกขากรรไกร ฟันคุด ฟันฝัง ความผิดปกติของรากฟัน อุบัติเหตุกระดูกขากรรไกรแตกร้าว รวมถึงช่วยวิเคราะห์ก่อนการจัดฟัน เป็นการเอ็กซเรย์ภายนอกช่องปากแต่สามารถเห็นขากรรไกรทั้งบน - ล่าง ฟันทุกซี่ได้พร้อมกัน รวมทั้งบางส่วนของไซนัส ข้อต่อขากรรไกร กระดูกสันหลังช่วงคอและกระดูกฐานจมูกอีกด้วย เพราะในบางกรณี เช่น ปวดฟันกระทั่งไม่สามารถอ้าปากได้การที่ต้องใส่ฟิล์มเข้าในปากเพื่อตรวจหาสาเหตุ คงเป็นเรื่องที่ทรมานอย่างแสนสาหัส : เทคนิคในการเอ็กซเรย์ที่ต่างกันก็จะได้ภาพและผลลัพธ์ที่ต่างกันด้วย เพราะถ้าเปลี่ยนท่ายืนจากด้านหน้าเป็นด้านข้าง ก็จะสามารถได้ภาพที่ช่วยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของกระดูกขากรรไกรในแนวหน้า - หลังได้ชัดเจน

เครื่องเอ็กซเรย์ภายในช่องปากระบบดิจิตอล : เป็นเครื่องเอ็กซเรย์ภายในช่องปากที่ไม่จำเป็นต้องใช้ฟิล์มในการรับภาพ แต่จะใช้เซนเซอร์ที่มีขนาดเท่าฟิล์มทั่วไปเป็นตัวรับภาพ ซึ่งจะต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ปรากฏภาพในจอได้ทันที สามารถทำซ้ำและจัดเก็บในฮาร์ดดิสค์ได้ ป้องกันการสูญหายของฟิล์ม ประหยัดเวลาเพราะไม่ต้องรอล้างฟิล์ม ระยะเวลาในการเอ็กซเรย์ฟิล์มทั่วไปประมาณ 0.65 วินาที แต่สำหรับระบบดิจิตอลใช้เวลาเพียง 0.16 วินาทีเท่านั้น ทำให้ปริมาณรังสีที่ได้รับลดปริมาณลง

CT Scan: Computed Tomography Scanner เป็นเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่เกิดจากการคิดค้นของวิศวกรชาวอังกฤษชื่อ G.Hounsfields ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 โดยสอดร่างกายคนไข้ที่นอนบนเตียงเข้าไปในอุโมงค์ของเครื่อง และใช้รังสีเอกซเรย์ (X-Ray) ส่องผ่าน (Scan)อวัยวะส่วนที่ต้องการตรวจไปสู่ตัวรับสัญญาณ แล้วใช้คอมพิวเตอร์ในการคำนวณและสร้างภาพ (Image)ออกมา ซึ่งแต่เดิมในการส่องผ่านแต่ละครั้งจะได้ภาพเพียงภาพเดียว ในปัจจุบันมีการพัฒนาโดยสามารถสร้างภาพได้หลายภาพ ทำให้ได้ภาพที่มีความละเอียดและชัดเจนมากขึ้น โดยใช้ระยะเวลาในการตรวจสั้นลง และสามารถนำไปสร้างเป็นภาพ 3 มิติได้

เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

ประโยชน์ของ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์
1. ช่วยในการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของอวัยวะต่างๆในร่างกาย รวมทั้งสามารถตรวจหลอดเลือด และกระดูกได้
2. ช่วยบอกระยะของโรค (กรณีที่เป็นมะเร็ง)
3. ใช้ในการตรวจติดตาม หลังการรักษา
4. ช่วยในการบอกตำแหน่ง เพื่อนำชิ้นเนื้อมาตรวจทางพยาธิวิทยา
5. ช่วยบอกขอบเขตของก้อนในการรักษาด้วยรังสี (ฉายแสง)

ตัวอย่างอวัยวะที่ตรวจโดยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

สมอง ( Brain )
คอ ( Neck )
ไซนัส ( PNS )
หลังช่องจมูก ( Nasopharynx )
ช่องปาก (Oral cavity)
กล่องเสียง ( Larynx )
ช่องท้องส่วนบน ( Upper Abdomen )
ช่องท้องส่วนล่าง ( Lower Abdomen )
ช่องท้องทั้งหมด ( Whole Abdomen )







ปอด ( Chest ) กระดูกคอ ( C-Spine )
กระดูกสันหลังช่วงอก ( T-Spine )
กระดูกสันหลังช่วงเอว ( L-Spine )
ส่วนอื่น ๆ เป็นต้น

การเตรียมตัวก่อนตรวจ
1. งดอาหาร, น้ำ และยาทุกชนิดก่อนตรวจ อย่างน้อย 6 ชั่วโมง เพื่อลดข้อแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการฉีดสารทึบรังสี ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนในผู้ป่วยบางราย (ยกเว้นในการตรวจบางอย่าง หรือในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งรังสีแพทย์จะเป็นผู้พิจารณา)
2. ควรได้รับการเจาะเลือด (ตรวจ BUN, Cr) ก่อนการตรวจ
3. การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บางชนิด อาจต้องมีการรับประทานยาระบายก่อน อย่างน้อย 1 วัน ก่อนตรวจ โดยเฉพาะในรายที่ต้องการตรวจบริเวณช่องท้องส่วนล่าง (Lower Abdomen) และช่องท้องทั้งหมด (Whole Abdomen)เป็นต้น
4. ผู้ที่มีประวัติภูมิแพ้ แพ้อาหารทะเล แพ้สารทึบรังสี โรคระบบทางเดินหายใจ โรคไต โรคเบาหวาน หรือมีโรคประจำตัวอื่น ๆ โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนทำการตรวจ
5. ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจ เช่น ผู้ป่วยเด็กที่มีอาการสับสน ไม่รู้สึกตัว อาจต้องพิจารณาให้ยาระงับความรู้สึก เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหว เป็นการป้องกันการได้รับรังสีมาก
6. หากผู้รับบริการได้รับการตรวจโดยการรับประทาน หรือสวนสารทึบรังสี คือ แป้งแบเรียมซัลเฟต (Barium Sulphate) เช่น การตรวจกระเพาะอาหาร (GI study) , การตรวจลำไส้ใหญ่ (Barium Enema) ซึ่งจะทำให้เกิดรอยที่ไม่พึงประสงค์ (artifact) ต่อภาพได้ ควรทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ก่อน หรือหลังการตรวจดังกล่าว 1 อาทิตย์ จนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแป้งแบเรียมตกค้างอยู่ในร่างกาย

*-----------------------------------------------------*

อ้างอิง:

http://blog.spu.ac.th/

http://kolmic.com/

วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

องค์ประกอบของระบบสำนักงานอัติโนมัติ

1 ความหมายของสำนักงานอัตโนมัติ


กอร์ดอน บี เดวิส (Gordon 1984) “สำนักงานอัตโนมัติ คือ การประยุกต์คอมพิวเตอร์และการสื่อสารในงานสำนักงานงานซึ่งประกอบด้วย พนักงาน นักวิชาชีพ และผู้จัดการ”เดวิด บารคอมบ์ (Barcomb 1989) “ในภาพกว้างแล้ว สำนักงานอัตโนมัติก็คือ การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการช่วยให้ผู้คนจัดการสารสนเทศ สำนักงานอัตโนมัติเป็นหลักการ เป็นวิธีการใหม่สำหรับคิดและดำเนินงานกับสารสนเทศ สำนักงานอัตโนมัติเป็นของจริง เป็นระบบที่ใช้งานได้ในทางปฏิบัติและมีอยู่จริง สำนักงานอัตโนมัติไม่ได้เป็นสิ่งที่เรียกว่า “สำนักงานในอนาคต” ซึ่งยังเป็นเพียงแนวคิดผสมทฤษฎีเท่านั้น”ชารลส์ เรย์ แจเน็ต ปาล์มเมอร์ และเอวีโวห์ล (Ray, Palmer and Wohl 1995) “สำนักงานอัตโนมัติเป็นหลักการที่เกี่ยวข้องกับการประสานโต้ตอบกันของผู้ที่อยู่ในสำนักงานโดยอาศับระบบและเทคโนโลยีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ”ครรชิต มาลัยวงศ์ (ครรชิต มาลัยวงศ์ 2536) “แนวคิด และวิธีการนำคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สำนักงานมาเชื่อมโยงกันด้วยระบบสื่อสารข้อมูล เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างรวดเร็ว และสะดวกสบาย ทั้งในด้านการผลิต และการเรียกค้นเอกสาร การประมวลผลข้อมูล การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน การจัดงานนัดหมาย การประชุม และการตัดสินใจ”สำนักงานอัตโนมัติจัดตั้งขึ้นให้เป็นส่วนหนึ่งของสำนักงาน และทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนหน่วยงานให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงเป้าหมายที่หน่วยงานได้กำหนดไว้



2. องค์ประกอบของสำนักงานอัตโนมัติ องค์ประกอบของสำนักงานอัตโนมัติแบ่งเป็น 5 ประเด็น

2.1 บุคลากร อาจแบ่งได้หลายกลุ่ม เช่น ผู้บริหาร นักวิชาชีพ นักเทคนิค เลขานุการ เสมียน และพนักงานอื่นๆ
2.2 กระบวนการปฏิบัติงาน

2.2.1 การรับเอกสารและข้อมูล
2.2.2 การบันทึกเอกสารและข้อมูล

2.2.3 การสื่อสารเอกสารและข้อมูล

2.2.4 การจัดเตรียมข้อมูลข่าวสารต่างๆ

2.2.5 การกระจายข่าวสาร

2.2.6 การขยายรูปแบบเอกสาร

2.2.7 การค้นคืนและการจัดเก็บเอกสารข้อมูล

2.2.8 การกำจัดและการทำลายเอกสาร

2.2.9 การดูแลความมั่นคงปลอดภัย

2.3 เอกสาร ข้อมูล สารสนเทศ

2.4 เทคโนโลยี

2.5 การบริหารจัดการ




หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการตัดสินใจการนำเสนอระบบสำนักงานอัติโนมัติ

สำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation) เป็นการนำเอาเทคโนโลยีใหม่มาใช้ช่วยให้การปฏิบัติงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพมีความคล่องตัวสะดวกรวดเร็วมากขึ้น โดยการนำเอาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดทำ การเก็บรักษา การส่งข้อมูลการติดต่อสื่อสารในสำนักงาน ทั้งยังเป็นการลดปริมาณกระดาษลง สามารถสื่อสารผ่านทางจอคอมพิวเตอร์ได้อย่างรวดเร็ว การจัดเก็บเอกสาร สามารถนำเอาเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดเก็บมาช่วยให้การจัดเก็บมีประสิทธิภาพมากขึ้นค้นหาได้ง่ายและประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ นอกจากนี้ ยังมีเครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์อื่นๆ อีกมากมายสำหรับสำนักงานอัตโนมัติ
การสร้างระบบที่ใช้ในการประมวลข่าวข้อมูลไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของข้อมูลที่เป็นตัวเลข รูปภาพข้อความ และเสียงที่มีระบบเป็นรูปแบบสามารถเก็บและเรียกมาใช้งานได้ตามต้องการ การบริหารข้อมูลข่าวสารสะดวกรวดเร็ว ปัจจัยที่สำคัญต่อระบบสำนักงานอัตโนมัติคือ ระบบการสื่อสาร โทรคมนาคม ซึ่งเป็นการสื่อสารเชื่อมต่อในการรวบรวมแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ดังนั้นการได้เปรียบเสียเปรียบจึงวัดกันที่ใครมีข้อมูลข่าวสารเพื่อนำมาตัดสินใจได้ดีกว่า ถูกต้องกว่าทันสมัยกว่าและรวดเร็วกว่าสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation) คือ กระบวนการในการนำเทคโนโลยีมาช่วยคนในสำนักงานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เทคโนโลยีที่นำมาใช้นั้นรวมถึงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำนักงานอัตโนมัติ เช่น เครื่องพิมพ์ดีดชนิดต่างๆ ที่อาศัยเทคโนโลยีชั้นสูง การสื่อสารด้วยเทคโนโลยีทางการสื่อสาร เช่น ระบบโทรศัพท์อัตโนมัติดิจิตอล โทรสาร การสื่อสารผ่านดาวเทียม ไฟเบอร์ออฟติค ฯลฯ การนำระบบสำนักงานอัตโนมัติมาใช้จะช่วยให้องค์การ

ข้อควรพิจารณาในการนำระบบสำนักงานอัตโนมัติมาใช้ในสำนักงานมีดังนี้
1. การวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้
2. การออกแบบระบบและอุปกรณ์อัตโนมัติ
3. การจัดหาอุปกรณ์และระบบอัตโนมัติ
4. การนำระบบสำนักงานอัตโนมัติมาติดตั้งในสำนักงาน
5. การประเมินผลและบำรุงรักษาระบบ